ทำความสะอาดของเหลวจากกระบวนการฟอสเฟตติ้ง

โรงงาน Radson b.y. เมือง Zonhoven ประเทศเบลเยี่ยม ในการผลิตหม้อน้ำจะมีการล้างจารบีและมีกระบวนการปรับผิวชิ้นงานด้วยฟอสเฟต(Phosphating) ด้วยสายการผลิตแบบตู้พ่นจาก Eisenmann ก่อนที่ชิ้นงานจะถูกนำไปชุบสีแบบจม
ในสายการผลิตจะมีพื้นที่ที่มีกิจกรรม 2 จุด แต่ละจุดจะมีถังกักเก็บของเหลวปริมาตร 13,500 ลิตร และจะมีการหมุนเวียนใช้งาน 18 รอบ ในแต่ละชั่วโมง โดยประมาณจะมีการปรับพื้นผิว 6,000 ตารางเมตรต่อชั่วโมง ดำเนินการผลิตทุกวัน
สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการนี้มีส่วนผสมของสารล้างจารบีและสารโลหะฟอสเฟต (ค่าความเป็นกรดด่าง ประมาณ 5.0 และอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 40° C)
ปัญหาที่ทางโรงงานกำลังเผชิญ คือ อายุการใช้งานของเหลวค่อนข้างสั้น ของเหลวต้องมีการเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 3 สัปดาห์ถ้ามีการผลิต 2 กะ สาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนมาจากการสะสมของน้ำมันเสีย(ประมาณ 200 ลิตร/วัน) และปริมาณสะสมของกากตะกอนฟอสเฟต(ประมาณ 35 ลิตร/วัน)



วิธีการแก้ปัญหา

ในปี 1999 ทาง STA ได้รับว่าจ้างให้ติดตั้งระบบทำความสะอาดของเหลวแบบผสม ประกอบไปด้วย เครื่องแยกตะกอนด้วยแรงเหวี่ยง S-15 จำนวน 4 ยูนิต (2 ยูนิต ต่อถังกักเก็บ) เพื่อแยกกากตะกอนของแข็ง และเครื่องแยกน้ำมันเสีย DPS-1050 ณ ถังกักเก็บโซนแรก ระบบถูกติดตั้งเข้ากับแท๊งค์ล้างในแบบบายพาส

S-15 4 เครื่องติดตั้งในพื้นที่กิจกรรมของพื้นที่ที่ 1 และ 2

ผลที่ได้รับ

ระบบสามารถแยกกากตะกอนฟอสเฟตที่สะสมออกมาได้แห้งจากทั้ง 2 โซน ปริมาณ 32-40 กิโลกรัมต่อกะ และปริมาณน้ำมันเสียประมาณ 80-100 ลิตรจากสายการผลิตหลัก

ปลอกเก็บชั้นตะกอนจากเครื่องแยกตะกอนด้วยแรงเหวี่ยง เต็มไปด้วยชั้นกากตะกอนฟอสเฟตที่แห้ง

เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนของเหลวในกระบวนการ เดือนธันวาคม 1999 แทบจะไม่มีปริมาณกากตะกอนในพื้นที่ผลิตทั้ง 2 โซน รวมไปถึงหัวฉีดของเหลวในห้องพ่นก็ไม่มีการสะสมของอนุภาคของแข็งภายใน ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอุปกรณ์จึงลดลงเป็นอย่างมาก
ระยะการเปลี่ยนของเหลวในกระบวนการสามารถยืดขึ้นไปได้ จากปกติใช้ได้ 3 สัปดาห์ ไปเป็น 5-6 เดือน สามารถจัดการควบคู่ไปกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบป้องกัน(Preventive maintenance) รวมไปถึงของเหลวบางส่วนที่ถูกเปลี่ยนยังสามารถถูกใช้ใหม่ผสมไปกับการเตรียมของเหลวใหม่อีกด้วย

ผลที่ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้:
• ลดค่าจ้างพนักงาน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการล้างทำความสะอาดลดลงอย่างมีนัยยะ
• ลดค่าใช้จ่ายจากการที่ไม่ต้องใช้ตัวกรองสิ้นเปลือง
• ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการกากตะกอนเนื่องจากตะกอนมีน้ำหนักเบา
(กากตะกอนอัดแน่นและมีปริมาณน้ำน้อย ดูได้จากรูป)
• ลดค่าใช้จ่ายในการทิ้งของเสียเนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนของเหลวบ่อย
• ค่าใช้จ่ายในการเติมสารเคมีและน้ำที่ต่ำลงในการเตรียมของเหลวใหม่
เงินลงทุนเครื่องแยกตะกอน ประมาณ 107,000 ยูโร คืนทุนภายในระยะเวลาเพียง 18 เดือน
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อื่นที่ได้รับจากการติดตั้งระบบนี้:
• สุขอนามัยการทำงานที่ดีขึ้นเรื่องจากสิ่งปนเปื้อนอันตรายได้ถูกแยกออกอย่างต่อเนื่อง เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย, ตะกอนแขวนลอยและสารอื่นๆ
• ลดมลภาวะทางกลิ่นจากการที่มีการหมุนวนของเหลวสัมผัสอากาศต่อเนื่อง